บทที่ 2

¢  หน่วยที่ 2
¢  การเตรียมการเพื่อดำเนินธุรกิจด้วยระบบ
¢  E-commerce
¢  ความสำคัญของอินเตอร์เน็ตต่อธุรกิจ
¢  ในปัจจุบันกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุค เศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy)  หมายถึงการที่ผู้บริโภคสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้โดยใช้เทคโนโลยีแทนการเดินทางไปติดต่อซื้อขายกันโดยตรง
¢  การติดต่อสื่อสารรูปแบบนี้จะก่อให้เกิด
ประโยชน์ดังนี้
1.       ลดการทำงานด้านเอกสาร
2.       ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์แค็ตตาล็อกสินค้า
3.       ลดต้นทุนในการจัดแสดงสินค้า
4.       ลดต้นทุนในการจ้างพนักงานขาย
5.       สินค้าบางประเภทไม่ต้องจัดส่ง
6.       ลูกค้าสามารถเข้าชมสินค้าได้ตลอดเวลา
7.       สามารถแสดงสินค้าให้ลูกค้าจากทั่วโลกเข้าชมได้
¢  ข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ
1.       ลูกค้าอาจไม่เชื่อถือระบบรักษาความปลอดภัย
2.       ลูกค้าขาดความเชื่อ
3.       ขาดความเชื่อถือในรูปแบบของสินค้า
4.       ปัญหาเรื่องฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบการสื่อสาร
¢  สภาวะการค้าบนอินเตอร์เน็ตปัจจุบันมีลักษณะสำคัญดังนี้
1.       ผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้ผู้ขายมีโอกาสในการขายมากขึ้น
2.       ระบบการสื่อสารพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำ มีรูปแบบของการสื่อสารให้เลือกมากขึ้น
¢  สภาวะการค้าบนอินเตอร์เน็ตปัจจุบันมีลักษณะสำคัญดังนี้
3.  เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะกลายเป็นเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันแบบเสรี ดังนั้นการแข่งขันในตลาดโลกจึงสูงขึ้น เพื่อให้ได้ลูกค้ามากที่สุด
4.  เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร ธุรกิจ และผู้บริโภค มีความต้องการข่าวสารเกี่ยวกับคู่แข่งสินค้า เศรษฐกิจ  สังคม ฯลฯ ดังนั้นการรับรู้ข่าวสารได้ง่ายและรวดเร็วจึงทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
¢  รูปแบบการค้าบนอินเตอร์เน็ต
¢  การดำเนินธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
               
¢                  1.  การค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ หรือธุรกิจกับองค์กรของรัฐ
¢  หมายถึง  การทำการค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ หรือ หน่วยงานของรัฐ ในลักษณะของการขายส่ง การขายสินค้าประเภทนี้จะต้องขายเป็นจำนวนมาก ราคาถูก หากเกิดความเสียหายจะเป็นจำนวนเงินที่สูง
¢  2. การค้าระหว่างธุรกิจกับลูกค้า
¢  หมายถึง  การทำการค้าระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภคในลักษณะของการขายปลีกหรือ การขายสินค้าให้กับผู้บริโภคโดยตรง  การขายสินค้าประเภทนี้ทำให้สินค้าราคาถูกลง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผู้ขายอาจไม่ทราบความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค เนื่องจากอยู่คนละท้องถิ่น นอกจากนี้อาจมีความเสี่ยงในการขายสินค้าได้ไม่คุ้มกับการลงทุนอีกด้วย
¢  3.การค้าระหว่างลูกค้ากับลูกค้า
¢  หมายถึง  การทำการค้าที่ผู้บริโภคติดต่อซื้อขายกันเอง โดยอาจผ่าน Web Site  ที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าในการขายสินค้า เช่น  www.thaisecondhand.com , www.shopping,yahoo.com  เป็นต้น
¢  การเลือกผลิตภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.  Soft Goods  หมายถึง สินค้าประเภท เกม , โปรแกรมคอมพิวเตอร์ , เพลง, ภาพยนตร์ , รูปภาพ ,งานออกแบบ เขียนแบบ ข้อมูลข่าวสาร การให้คำปรึกษา แนะนำต่าง ๆ การจัดสัมมนาออนไลน์ เป็นต้น
¢  การเลือกผลิตภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
2.  Hard Goods หมายถึง สินค้าที่สามารถจับจองได้  เช่น  หนังสือ , เครื่องประดับ,เครื่องตกแต่งบ้าน , อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น 
¢  การเลือกผลิตภัณฑ์ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.       สินค้าชนิดเดียวกัน  วัตถุประสงค์การใช้งานในแต่ละท้องถิ่นอาจไม่เหมือนกัน
2.       การเลือกผลิตภัณฑ์ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และอาจปรับเปลี่ยนไปตามท้องถิ่น
3.       สินค้าที่ผลิตควรมีตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ที่แน่นอนในการขาย เพื่อให้กลุ่มลูกค้ามั่นใจในการซื้อสินค้า
¢  การพัฒนาผลิตภัณฑ์
¢  การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อขายในรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีข้อควรคำนึงถึงดังนี้
1.       สินค้าที่ขายจะต้องมีความยืดหยุ่นได้
2.       มีการพัฒนาสินค้าอยู่เสมอ
3.       ควรเป็นสินค้าที่ผลิตได้เอง หรือ หาวัสดุในการผลิตได้ง่ายในท้องถิ่น
4.       การบรรจุหีบห่อควรคำนึงถึงความคงทน แข็งแรง
5.       สินค้าบางชนิดมีข้อจำกัดพิเศษทางกฎหมาย
6.       การผลิตสินค้าควรผลิตที่ต้นทุนต่ำที่สุดเสมอ
¢  การสร้างกลยุทธ์
¢  โดยหลักการแล้วการทำการค้าบนอินเตอร์เน็ตจะคล้าย ๆ กับการทำการค้าทั่ว ๆ ไป คือ ต้องมีการวิเคราะห์ วางแผนกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถขายสินค้าได้  การวางแผนกลยุทธ์สินค้าที่ขายบนอินเตอร์เน็ตอาจแตกต่างกันคือ การขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ตจะต้องเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั่วโลกซึ่งแตกต่างกันทั้งในด้านภาษา วัฒนธรรม  เศรษฐกิจ และ สังคม  ดังนั้นการสร้างกลยุทธ์จึงควรกระทำดังต่อไปนี้
¢  1.  พิจารณากลุ่มเป้าหมายว่าคือใคร เช่น เพศ วัย ความชอบ ที่อยู่ของกลุ่มเป้าหมาย ว่ามีการกระจายอย่างไรอยู่ทั่วโลกหรือไม่ เป็นต้น เพื่อพิจารณาภาษาที่ใช้ รูปแบบของเว็บไซต์
¢  2.  สำรวจพฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มเป้าหมาย เช่น รูปแบบ คุณภาพของสินค้าที่ต้องการ  ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสินค้า เป็นต้น เพื่อออกแบบสินค้าและพัฒนาเว็บไซต์ให้ตรงตามความต้องการ
¢  การสร้างกลยุทธ์
3. ข้อมูลที่แสดงในเว็บไซต์ควรเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ค้นหาได้ง่าย มีข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัย กระชับ
¢  การสร้างกลยุทธ์
4.  ศึกษากลยุทธ์ของคู่แข่ง โดยค้นจาก Search Engine  ตามที่ได้กล่าวข้างต้น แล้วเข้าไปชมในเว็บไซต์นั้น ๆ เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการ  กลยุทธ์ที่ใช้ จำนวนคนที่เข้าชมเว็บไซต์รวมทั้งกลยุทธ์ทางการตลาดอันได้แก่ 4 Ps
¢  การสร้างกลยุทธ์
5.  ค้นหาวิธีการประเมินผลความสำเร็จของกิจการ รวมถึงการเตรียมวิธีการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงมีการปรับปรุงข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
¢  การสร้างกลยุทธ์
6.  การใช้กลยุทธ์ 4Ps  ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสินค้า  โดยอาจพิจารณาจากคู่แข่งและพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า
¢  งานวันนี้
ให้นักศึกษาจัดตั้งธุรกิจขึ้นมาคนละ 1 ธุรกิจ และตอบคำถามต่อไปนี้
¢  ชื่อร้าน 
¢  สินค้าที่ขาย
¢  ต้นทุนที่ผลิต และ ราคาที่จะขาย
¢  กลุ่มเป้าหมาย
¢  บริการหลังการขาย 
¢  โปรโมชั่น
¢  คู่แข่งทางการค้า
¢  ระบบการชำระเงิน(Payment Systems)
¢  ขั้นตอนที่สำคัญสำหรับทั้งฝั่งผู้ขายและผู้ซื้อสินค้า ในเรื่องการชำระเงินควรมีวิธีการให้ลูกค้าสามารถใช้บริการให้มากที่สุดที่สะดวกกับทั้งทางผู้ค้าและลูกค้า เพราะในบางครั้งลูกค้าต้องการสินค้าแล้ว แต่ไม่สะดวกในเรื่องการชำระเงินก็ไม่ซื้อของก็ได้
¢  ในการพิจารณาเรื่องวิธีการชำระเงินนั้นให้พิจารณาถึงกลุ่มลูกค้าว่าเป็นใคร เช่นเป็นลูกค้าภายในประเทศ กลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน หรือกลุ่มที่อยู่ต่างจังหวัด วิธีที่สะดวกจะมีให้เลือกหลายวิธี
   ธนาณัติ
   การโอนเงินทางธนาคาร โอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
   จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต
   พัสดุเก็บเงินปลายทาง
¢  ประเภทของการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
E-Payment
¢  ชำระผ่านบัตรเครดิต
¢  ชำระผ่านบัตรเดบิต
¢  บัตรเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ (Smart Card) ไม่นิยมใช้ในการจ่ายเงินผ่านระบบ online
¢  เช็คอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Cheque)
¢  เงินอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Cash)
¢  การธนาคารอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Banking)
¢  ระบบการชำระเงินบนอินเตอร์เน็ตจะทำหน้าที่รับรายการสั่งซื้อของลูกค้าผ่านทางโปรแกรมเว็บบราวเซอร์  โดยซอฟต์แวร์ของร้านค้าจะเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของรายการสั่งซื้อขออนุมัติการชำระเงินผ่านระบบเครือข่ายโดยส่งข้อมูลไปยังธนาคารของผู้ขาย  และธนาคารผู้ขายจะตรวจสอบข้อมูลของผู้ซื้อจากธนาคารของผู้ซื้ออีกทอดหนึ่ง หลังจากนั้นจึงหักเงินในบัญชีและแจ้งยอดการสั่งซื้อให้ผู้ซื้อทราบต่อไป ในปัจจุบันระบบการชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตมี 4 ระบบ คือ
¢  ประเภทของการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
E-Payment
¢  ชำระผ่านบัตรเครดิต
¢  ชำระผ่านบัตรเดบิต
¢  บัตรเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ (Smart Card) ไม่นิยมใช้ในการจ่ายเงินผ่านระบบ online
¢  เช็คอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Cheque)
¢  เงินอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Cash)
¢  การธนาคารอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Banking)
¢  ปัญหาและอุปสรรคของระบบ E-Payment
¢  ปัญหาเรื่องสกุลเงิน และอัตราแลกเปลี่ยน บริการในปัจจุบัน มักจะจำกัดการจ่ายเงินอยู่ในสกุลเงินเพียงไม่กี่สกุล
¢  การเปิดบัญชีเงินสกุลต่างชาติในประเทศต่าง ๆ
¢  ค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างประเทศ ในปัจจุบันยังสูงอยู่มาก
¢  การรับรองความปลอดภัย ปัจจุบันตรวจสอบแค่รหัสบัตรเครดิต และวันหมดอายุเท่านั้น ไม่มีระบบยืนยันว่าผู้กรอกข้อมูลบัตรเครดิต เป็นเจ้าของบัตรจริง
¢  ขั้นตอนการชำระด้วยเครดิตการ์ดผ่านอินเตอร์เน็ต
¢  ในขั้นตอนการชำระเงินนั้นจะเริ่มเมื่อลูกค้าเข้าสู่หน้าการชำระเงิน ระบบจะเริ่มการทำงานในโหมดของ Secure Sockets Layer ผู้ใช้จะสังเกตได้ง่ายๆว่าเริ่มเข้าสู่กระบวนการที่มีระบบความปลอดภัยอยู่ด้วย โดยดูได้จากรูปแม่กุญแจที่ปิดล็อกและสว่างขึ้นที่ menubar และ ด้านล่างของหน้าจอเว็บเบราเซอร์
¢  องค์ประกอบในการชำระเงิน
¢  ลูกค้า(Customer)
¢  ร้านค้า(Merchant)
¢  ธนาคารที่ร้านค้าเปิดบัญชีไว้ (Acquiring Bank) หรือ Payment Service Provider ( PSP )
¢  ธนาคารผู้ออกบัตรเครดิต (Issuing Bank)
* ธนาคารผู้ออกบัตร กับธนาคารที่ร้านค้าเปิดบัญชีไว้ อาจจะเป็นที่เดียวกัน หรือไม่ ก็ได้
¢  กระบวนการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตในอินเตอร์เน็ต
¢  กระบวนการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตในอินเตอร์เน็ต
¢  เมื่อลูกค้าใส่ข้อมูลบัตรเครดิตและกดปุ่มตกลง/ส่งข้อมูลในส่วนของคำสั่งซื้อจะถูกส่งไปยังร้านค้า(1)
¢  ส่วนข้อมูลของบัตรเครดิตจะถูกส่งไปที่ระบบการชำระเงินของธนาคารที่ร้านค้าสมัครใช้บริการไว้(2)
¢  และถูกส่งต่อไปยังธนาคารผู้ออกบัตรเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของบัตรว่ามีวงเงินให้ใช้งานได้หรือไม่ บัตรหมดอายุหรือยัง (3)[แต่ในที่นี้ไม่ได้ตรวจสอบว่าผู้ใช้บัตรนั้นเป็นเจ้าของจริงหรือเปล่า]
¢  ถ้าบัตรยังใช้งานได้ก็จะตอบกลับมายังร้านค้าและลูกค้าว่าสามารถทำการชำระเงินในวงเงินดังกล่าวได้(4-6)
¢  หลังจากนั้นลูกค้าต้องกดปุ่มตกลงเป็นลำดับสุดท้ายเพื่อยืนยันคำสั่งซื้อและชำระเงิน
¢  เมื่อร้านค้าได้รับการแจ้งการชำระเงินก็จะจัดส่งสินค้าต่อไป(7)
¢  และลูกค้าก็ชำระเงินที่ใช้ไปตามรอบบัตรเครดิตปกติ
¢  1.  บัตรเครดิต
¢  ลูกค้าสามารถชำระเงินผ่านบัตรเครดิตได้ 2 แบบ คือ ลูกค้าส่งข้อมูลบัตรเครดิตให้กับร้านค้าโดยตรงไม่มีการเข้ารหัสในการส่งข้อมูล และ แบบที่ 2 คือมีการเข้ารหัสก่อนจึงส่งข้อมูลไปให้ร้านค้า การเข้ารหัสกระทำเพื่อป้องกันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องแอบนำข้อมูลหรือหมายเลขบัตรเครดิตของลูกค้าไปใช้  ในการเข้ารหัสนี้ทางร้านและลูกค้าจะต้องใช้มาตรฐานและชุดซอฟต์แวร์ที่เหมือนกันจึงจะสามารถทำรายการซื้อขายได้
¢  2.  เช็คอิเล็กทรอนิกส์
¢  ระบบเช็คอิเล็กทรอนิกส์จะมีลักษณะเดียวกันกับเช็คกระดาษเพียงแต่เอกสารบนกระดาษจะถูกเปลี่ยนเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แทน  ในการซื้อสินค้าผู้ซื้อจะส่งข้อมูลไปให้ร้านค้า และร้านค้าส่งผ่านข้อมูลต่อไปยังธนาคารเท่านั้นที่จะสามารถถอดรหัสได้ การเซ็นชื่อบนเช็คอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะเช็คด้วยลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ แทนการเซ็นเช็คตามปกติ
¢  3.  เงินสดดิจิตอล
¢  เงินสดดิจิตอล  หรือ Digital Cash  หมายถึงการนำเข้าดิจิตอลมาแทนการใช้เงินสด เหมาะกับการขายสินค้าที่มีข้อมูลดิจิตอลที่เรียกว่า Tokens  ให้กับผู้ซื้อ  และจัดเงินในบัญชีของลูกค้าออกเท่ากับมูลค่าของ Tokens  ที่ใช้ไป  เมื่อผู้ซื้อต้องการซื้อสินค้าด้วยเงินสดดิจิตอลนี้ก็จะส่งชุดข้อมูลของตัวลูกค้าไปให้กับร้านค้า  ทางร้านค้าจะนำชุดข้อมูลที่ได้ไปตรวจสอบกับธนาคาร และหากถูกต้องธนาคารก็จะโอนเงินไปให้ผู้ขายทันที
¢  กิจกรรม ให้นักศึกษาจับกลุ่ม 3 – 4 ทำงาน ศึกษาเว็บไซต์ต่อไปนี้